fbpx

ทำไมต้อง..ไมโครอินเวอร์เตอร์

🔎 ทำไมเราจึงควรเริ่มหันมาใช้ โซลาล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด และเทคโนโลยีนี้มันดีอย่างไรกับเราบ้าง

เราได้เริ่มอธิบายไปในปี 2019 ไปแล้วว่า ไมโครอินเวอร์เตอร์นั้นคืออะไร คราวนี้เรามาดูกันว่าเทคโนโลยีนี้มันจะดีกับคนที่คิดจะติดพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้ที่บ้านได้อย่างไร หากท่านใดยังตามข้อมูลในปี 2019 ไม่ทันในรายละเอียด เราจะสรุปให้สั่นๆให้ตามนี้ก่อน

⚡️ ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro-inverter) คือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก (ปกติจะมีขนาดไม่เกิน 500 Watt) จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นกระแสตรง (DC) ไปเป็นกระแสสลับ (AC) และจ่ายเข้าอาคารบ้านเรือน ไมโครอินเวอร์เตอร์ที่กล่าวถึงนี้จะเป็นระบบแบบออนกริด (Grid-tie inverter) คือ ทำงานร่วมกับไฟจากการไฟฟ้า

โดยปกติ Micro-inverter 1 เครื่อง จะต่อกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 1 แผง จึงทำให้สามารถดึงกระแสไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละแผงได้อย่างเต็มที่ แผงแต่ละแผงจะทำงานอย่างอิสระต่อกัน ขณะที่อินเวอร์เตอร์แบบดังเดิมหรือ String inverter จะมีการต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอนุกรมเป็นชุด (String) แล้วนำมาขนานกัน เพื่อเพิ่มกำลังของแผงเซลล์แสงอาทิตย์รวมให้เหมาะสมกับขนาดของอินเวอร์เตอร์ แผงเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่มีความเป็นอิสระจากกัน เมื่อทำการผลิตจะทำให้แต่ละแผงจะให้กำลังไฟฟ้าเท่ากับแผงที่มีสมรรถนะต่ำสุดเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ระบบที่ใช้ Micro-inverter จึงสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ String-inverter

👨🏻‍🏫 เหตุผลที่ทำให้เทคโนโลยีนี้น่าสนใจเป็นพิเศษ และพัฒนาวงการโซลาล์ให้มีสิ่งใหม่ๆเกิดขี้น ก็มีอยู่หลายข้อด้วยกัน

📌1. จากการที่ Micro-inverter มันมีความสามารถในการเริ่มผลิตไฟได้ตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ 350 วัตต์ ซึ่งน้อยกว่าเตารีดที่ใช้ที่บ้านอีก เราจึงสามารถปรับขนาดของระบบให้เข้ากับ การใช้งานของครัวเรือน หรือบ้านแต่ละหลังได้ ไม่จำเป็นต้องลงทุนเริ่มตั้งแต่ 1000-2000 วัตต์ ซึ่งมีราคาเป็นหลักแสนบาท

📌2. วิธีการใช้งานระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้คุ้มค่า มากที่สุดคือการใช้ไฟจากโซลาล์เซลล์ในช่วงกลางวันจากระบบโดยตรงให้หมดภายในบ้าน โดยไม่ต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ และไม่ส่งออกขาย หากแต่คนส่วนใหญ่ อย่างภาคครัวเรือนจะใช้ไฟกลางวันน้อยกว่ากลางคืนมาก ฉะนั้นโซลาล์แบบดั่งเดิมจะมีขนาดใหญ่และผลิตพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ไว้เยอะมากทำให้ไม่เกิดความคุ้มค่า ฉะนั้นระบบ Micro-inverter ที่มีขนาดเล็กเริ่มต้นเพียง 350 วัตต์ จะมาตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้

📌3. Micro-inverter สามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้สูงสุด จากการที่ Micro-inverter สามารถหาจุดทำงานที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานได้สูงสุด (MPP : Maximum Power Point) ได้อย่างแม่นยำเนื่องจากต่อกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพียง 1 แผง อีกทั้งยังทำงานเป็นอิสระต่อกัน เงาและฝุ่นบนแผง ทิศทางแสงที่แตกต่าง และปัจจัยอื่นๆ ไม่ส่งผลต่อการผลิตของแผงอื่นๆ

📌4. Micro-inverter มีฟังก์ชั่น Anti-Islanding ในตัว (ระบบความปลอดภัยที่ตัดการทำงานเมื่อไม่มีไฟฟ้าในระบบโครงข่าย) ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องติดอุปกรณ์ Gateway เหมือน Micro-inverter ทั่วไป

📌5. Micro-inverter ยังมีสวิตซ์ตัดการทำงาน (Machanical Disconnection Switch) ในตัว ซึ่งเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ เมื่อระบบไฟฟ้ามีปัญหา

📌6. ราคาระบบโดยรวมไม่สูง เนื่องจากสามารถประหยัดค่าอุปกรณ์ประกอบ เช่น DC fuse, DC breaker, Surge protector, Combiner box, ระบบ monitoring และ อุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งค่าแรงติดตั้งที่ไม่ต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพราะสามารถติดตั้งได้ง่ายรวดเร็ว ไม่ต้องมีการออกแบบการติดตั้งที่ซับซ้อน และไม่ต้องทำงานกับระบบไฟฟ้าแรงดันสูง

📌7. Micro-inverter มาพร้อมด้วยระบบสื่อสารในตัว สามารถตรวจวัดค่าทางไฟฟ้าต่างๆและความผิดปกติในระดับแผงได้ ส่งผลให้สูญเสียโอกาสในการผลิตพลังงานลดลง

📌8. สามารถเข้ากันได้กับแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายชนิดและขนาด จากที่ Micro-inverter มี MPPT ที่กว้างมากทำให้สามารถต่อกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้หลากหลายและสามารถผลิตพลังงานได้สูงสุด

📌9. สามารถนำไปใช้งานที่หลากหลาย จากขนาดที่เล็กของระบบผลิตไฟฟ้าที่ใช้ Micro-inverter จึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง ตั้งแต่ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ระบบ self-consumption ระบบ micro-grid และอื่นๆ

📌10. ในกรณีของไฟไหม้ สามารถทำการดับเพลิงได้ทันที เพราะระดับแรงดันฝั่งกระแสตรงน้อยกว่ามาตราฐานไฟฟ้าแรงดันสูง จึงไม่ต้องระวังเรื่องระบบไฟเป็นพิเศษและไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการดับไฟ

📌11. ด้วยความที่ระบบไฟกระแสตรงเป็นแรงดันต่ำ และระบบติดตั้งเป็นแบบ Plug&Play ทำให้การติดตั้งและซ่อมบำรุง ไม่ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญเฉพาะเหมือนระบบดั้งเดิม ส่งผลให้การนำไปใช้เป็นไปด้วยความง่ายดาย ปลอดภัย และประหยัดงบประมาณ

#microinverter
#NextSolar